การจัดการยาใหม่ที่นำมาใช้ในโรงพยาบาล
- Hydroxychloroquine (ยาใหม่ในหลายโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 โดยให้ยาหลังจากหยุดยา Azithromycin ทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิด QTc Prolong และ cardiac arrest
- ทีมยามีบทบาทในการเตรียมความพร้อมในโรงพยาบาลเป็นระบบ electronic ผลการตรวจ EKG จะอยู่ในระบบทำให้เภสัชกร สามารถติดตามอาการไม่พึงประสงค์ได้ง่าย
การจัดการยาขาดคราว และ infusion pump / syringe pump ที่ไม่เพียงพอ
- หลายโรงพยาบาลประสบปัญหายาขาดคราวและไม่เพียงพอ โดยเฉพาะยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ ทีมยามีส่วนช่วยในการวางแผนในการกำหนดแนวทางในการเลือกยาที่ใช้ทดแทน และการป้องกันความคลาดเคลื่อนในยาที่มาใช้ทดแทน เช่น ยา Propofol ที่มีอยู่เป็นความแรง 1% ยาหมดต้องสั่ง 2% มาทดแทน แผนกเภสัชกรรมต้องทำฉลากช่วยในการเตือน เพื่อป้องกันความผิดพลาด (ที่มา https://www.apsf.org/news-updates/1-propofol-shortage-due-to-covid-19-double-concentration-2-propofol-becoming-available/)
- เภสัชกร จัดทำ criteria / guideline ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องปรับเปลี่ยนยาเป็นแบบรับประทาน และสามารถปรับเปลี่ยนยาจะหยดเข้าในหลอดเลือด ไปเป็นยารูปแบบอื่น เช่น ยารับประทาน หรือยาที่ฉีดเข้ากล้าม
การจัดการอัตรากำลังเภสัชกร
- เภสัชกรหลายคนติดเชื้อ หรือบางรายสัมผัสกลุ่มเสี่ยงต้องโดนกักตัว แต่โรงพยาบาลอนุญาตให้เภสัชกรสามารถทำงานที่บ้านได้ผ่าน platform ของโรงพยาบาล สามารถทำงานที่บ้านในการทบทวนความเหมาะสมของยาและการให้คำปรึกษาแพทย์และพยาบาลให้ยาใน ICUรวมทั้งเข้าไปช่วยเหลือโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ไม่มีเภสัชกร 24 ชั่วโมง
การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง
- เนื่องจากบางโรงพยาบาลมีผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาระงานเพิ่มขึ้นบาง แต่เรื่องการตรวจสอบยาที่ต้องระมัดระวังสูงอย่างเป็นอิสระยังคงต้องทำ (independent double check) แต่เลือกยาที่ต้องคำนวณ และการ check ขนาด และ อัตราการบริหารยา เนื่องจาก รพ.ใช้ระบบ barcode ทำให้ลดเรื่องการตรวจชื่อผู้ป่วย ชื่อยา และวิธีการใช้ ยกเว้นยาเตรียม floor stock ที่ต้องมีการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งบาง รพ.จะมีเภสัชกรตรวจสอบ double check ผ่านทาง online
ที่มา : ECRI Webinar - 12 May 2020
เรียงเรียงโดย : เภสัชกร พงษ์พันธุ์ ตาทิพย์